ข่าว

นิตยสาร Forbes ได้เปิดเผยรายงานการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า การรวมกันของสารประกอบที่พบในกัญชาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการรักษาหรือป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในเซลล์ปอดของมนุษย์ได้

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “การระบาดสารเสพติดและตลาดการค้า” เพื่อร่วมกันหาแนวทางกำหนดนโยบายสารเสพติด

นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วันที่ 5-7 มี.ค.นี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเปิดงานมหกรรมกัญชงกัญชา 360 องศา เพื่อประชาชน ซึ่งจัดขึ้นที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นเเนล จ.บุรีรัมย์ โดยภายในงานจะมีการจัดนิทรรศการทีชีวิตกับกัญชาเเละกัญชง 360 องศาเพื่อประชาชน เปิดตำรับยา อาหาร เวชสำอาง

วันที่ 23 ก.พ.64 ที่ โรงแรมฟลอร่าฮิลล์ รีสอร์ท อ.เมือง จ.เลย นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานมหกรรมกัญชาทางการแพทย์ ต่อยอดสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจไทเลยและโครงการ 3 หมอเมืองเลย พร้อมด้วย ดร.ใยอนงค์ ทิมสุวรรรณ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 8 สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 8 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 ร่วมเป็นเกียรติในงาน โดยมีนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนายการโรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 8 คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ตลอดจนช่างภาพสื่อมวลชน ร่วมให้การต้อนรับ

เมื่อวันที่ 23กพ. 64 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาให้ความเห็นถึงกลไกที่จะเกิดอาการทางจิตของกัญชา หลังมีการนำใบกัญชามาเป็นอาหารว่า "การบริโภคใบกัญชาซึ่งมีปริมาณ THC ในระดับต่ำ ไม่อาจทำให้เกิดอาการทางจิตได้ เพราะการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า อาการทางจิตสัมพันธ์กับรหัสทางพันธุกรรม"

“ความร่วมมือระหว่าง ม.อ.กับภาคเอกชน ผ่าน 3 โครงการในครั้งนี้ นับเป็นย่างก้าวที่สำคัญ ที่ทางทีมวิจัยม.อ.มีความมุ่งมั่นการวิจัยและพัฒนากัญชา กัญชง และกระท่อม เพื่อตอบโจทย์การแพทย์เชิงพาณิชย์ ทั้งยาแผนปัจจุบันและยาแผนไทย และขณะเดียวกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมยาของประเทศไทย ตลอดจนการประหยัดงบประมาณในการนำเข้ายา โดยม.อ.พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคใต้และยกระดับประเทศไทยสู่การใช้กัญชา กัญชง และกระท่อม ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ” ผศ.ดร.นิวัติ กล่าว

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 5 มีนาคมนี้ เวลา 10.00 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ สธ.จะเป็นประธานเปิดงาน มหกรรมกัญชงกัญชา 360 องศา เพื่อประชาชน ณ สนามช้างอินเตอร์เนชั่นเเนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 มีนาคม 2564 เวลา 08.30-17.30 น. ต่อเนื่อง 3 วัน ทั้งนี้ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการทีชีวิตกับกัญชาเเละกัญชง 360 องศาเพื่อประชาชน เปิดตำรับยา อาหาร เวชสำอาง ก้าวเเรกกัญชาจากการคลายล็อก

เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดสถาบันกัญชาทางการแพทย์ พร้อมมอบนโยบายกัญชาเสรีทางการ แพทย์ โดยนายอนุทินกล่าวว่า สธ.จัดตั้งสถาบันกัญชา ทางการแพทย์ อยู่ในสังกัดสำนักงานปลัด สธ. เพื่อทำหน้าที่ประสานและส่งเสริมการให้ความรู้คำแนะนำ กับประชาชนเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์กัญชา กัญชงทางการแพทย์ ซึ่งปลดล็อกให้ใช้บางส่วนของกัญชา กัญชงออกจากการควบคุมยาเสพติดประเภท 5 ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับยากัญชาทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย กว่า 50,000 ราย จากสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชาร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกว่า 300 กลุ่ม เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาผลิตเป็นน้ำมันกัญชา และส่วนผสมของยากัญชาแผนไทย เพื่อรักษาในกลุ่มโรคต่างๆ อาทิ โรคลมชัก, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง, โรคมะเร็ง, นอนไม่หลับ, ปวดเรื้อรัง เป็นต้น

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เปิดสถาบันกัญชาทางการแพทย์ พร้อมมอบนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ปี 2564 พร้อมกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ขับเคลื่อนนโยบายกัญชา กัญชง ทางการแพทย์จนสามารถปลดล็อกให้ บางส่วนของกัญชา กัญชง ออกจากการควบคุมยาเสพติดประเภท 5 เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับยากัญชาทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย กว่า 50,000 ราย จากสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ภกญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ในวันนี้คณะกรรมการฯ อาหาร อย. เตรียมประชุมหารือประเด็นปลดล็อกการอนุญาตใช้ส่วนของพืชกัญชาและกัญชงในอาหารแปรรูป และการให้ใช้เมล็ดกัญชง น้ำมันกัญชงในอาหาร

ระวังอันตรายจากเมนูอาหารใส่กัญชา แนะตรวจสอบส่วนผสมและแหละที่มาก่อนซื้อ ห่วงเป็นช่องทางเยาวชนยกระดับพฤติกรรมสู่การเสพ

"เมนูอาหารกัญชา" แพทย์เตือนกินต้องระวัง นำใบปรุงแบบผ่านความร้อน-น้ำมัน อาจทำให้สกัดได้รับปริมาณ THC สารมึนเมามากขึ้น แนะก่อนเลือกซื้อกินต้องตรวจสอบส่วนผสม-แหล่งที่มาใบกัญชาให้ชัดเจน ด้านภาคประชาสังคมห่วงเป็นช่องทางเด็กเยาวชนยกระดับพฤติกรรมสู่การเสพ

อนุทิน’ เปิดวันนี้ ‘สถาบันกัญชา’ ศูนย์กลางขับเคลื่อนสู่พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เวลา 09.00 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเป็นประธานเปิดสถาบันกัญชาทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ พร้อมมอบนโยบายการทำงานขับเคลื่อนนโยบายเรื่องกัญชาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ กล่าวว่า ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่7) พ.ศ.2562 เรื่องกัญชาจะถูกล็อกว่า หากจะกระทำการใดจะต้องมีหน่วยงานรัฐร่วมด้วย ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีเรื่องการแพทย์ การเกษตร รวมถึงสภากาชาดไทย ที่ยกเว้นว่าสามารถปลูก ผลิต จำหน่ายได้ และเนื่องจากประชาชนอยากปลูกหรือไปใช้ประโยชน์ต้องรวมตัวกันในรูปของสหกรณ์การเกษตร หรือ วิสาหกิจชุมชน และหาหน่วยงานของรัฐมากำกับทุกขั้นตอน “หน้าที่ของสถาบันกัญชาฯ จะต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ ดูจุดต่างๆ ที่ต้องเชื่อมโยงระหว่างกระทรวง ทบวง กรม ล่าสุดสถาบันกัญชาฯ ทำงานร่วมกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ พัฒนาสายพันธุ์กัญชา ลงไปช่วยเรื่องการปลูกให้ประชาชน วิสหากิจชุมชน เราต้องทำหลายฟังก์ชั่นมาก เช่น ล่าสุดประกาศ สธ. ปลดใบ ราก ต้น ออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เราต้องทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประสานรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร รพ.คูเมือง ฯลฯ นำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษาเรื่องชาชง เป็นมิติคุ้มครองผู้บริโภค ด้านความปลอดภัยโดยสถาบันกัญชาฯ จะเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทุกส่วนทั้งหมด” นพ.กิตติกล่าว

องค์กรผู้บริโภค เตือนสติ คณะกรรมการอาหารและยา ต้องพิจารณาเรื่องการ "ปลดล็อกกัญชา" ในอาหาร โดยคำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภค ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขปลดล็อกส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ประกอบด้วย เปลือก, ลำต้นเส้นใย, กิ่งก้าน รากและใบ ไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วยให้พ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่ยังไม่มีการแก้ไขประกาศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในอาหารเพราะมีเสียงแย้งจากนักวิชาการเรื่องข้อมูลความปลอดภัยในการบริโภคเป็นอาหารยังมีไม่มากพอนั้น

รัฐบาล ย้ำ ประชาชนทุกครัวเรือนมีสิทธิ์ปลูก “กัญชา” ได้ แต่ต้องร่วมกับหน่วยงานรัฐขออนุญาต อย. หรือ สสจ. พร้อมผลักดันเป็นพืชเศรษฐกิจหลักสร้างรายได้ วันที่ 21 ก.พ. 2564 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภายหลังกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 กำหนดให้ส่วนของพืชกัญชาและกัญชง เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ปลูก ผลิต หรือสกัดในประเทศไทย ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษนั้น ปรากฏว่ามีประชาชนทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการแขนงต่างๆ ให้ความสนใจขอรับคำแนะนำมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จำนวนมาก

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ร่วมกับแบรนด์ร้านกาแฟ Class Cafe เปิดตัวเมนูอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ “กัญชา” เป็นส่วนผสม โดยใช้ชื่อแบรนด์ “เขาใหญ่คาม” KhaoYai Calm สินค้าที่เปิดตัวมีทั้งอเมริกาโน่กัญชา, มัทฉะ ลาเต้กัญชา และชา กัญชา รวมถึงนวัตกรรมเครื่องดื่มบุกรสชาติกัญชา และเมนูอาหารจากผลิตภัณฑ์กัญชา ในเมนูแฮมเบอร์เกอร์ และเบเกอรี่ ที่มีส่วนผสมจากกัญชา

กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกำหนดตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสม เพื่อการรักษาโรคและศึกษาวิจัยได้ มีผลตั้งแต่วันนี้ั วันที่ 15 ก.พ.2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2564 โดยมีรายละเอียดความว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และมาตรา 58 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับ 7) พ.ศ.2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

“อนุทิน” ลงนาม ปลด 5 ตำรับยากัญชาแผนไทยออกจากบัญชีตำรับยาเสพติด ภาคเอกชนขอผลิตยาได้ตั้งแต่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2564 ปลดตำรับยากัญชาแผนไทย 5 ตำรับ ที่มีส่วนประกอบของใบและกิ่งก้านกัญชาจากบัญชีตำรับยาเสพติดให้โทษ ได้แก่ ยาศุขไสยาศน์ ยาแก้นอนไม่หลับ/ยาแก้ไข้ผอมเหลือง ยาแก้ลมแก้เส้น ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง และยาแก้โรคจิต

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จับมือภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้การนำส่วนประกอบของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด มาใช้ประโยชน์ เตรียมต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมยา อาหาร สมุนไพร ยานยนต์และ สิ่งทอ ภายหลังจากกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 บางส่วน โดยช่อดอกและเมล็ดกัญชายังเป็นยาเสพติดให้โทษ

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-meeting : Zoom Cloud Meeting) โดยมี นางมาลา สร้อยสำโรง ผู้อำนวยการสำนักจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มาบรรยายให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้ จัดโดย สำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย ณ ห้องประชุมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคาร 2 ชั้น 3 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดนนทบุรี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้