มาทำความรู้จักกับประโยชน์ของกัญชา

Last updated: 13 พ.ค. 2562  | 

 

กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะด้านการรักษาพยาบาล ที่ในอดีตมักจะแบ่งแยก “ประเภทยา” ที่จะใช้เฉพาะโรคเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าเป็น “จำพวกยาเสพติด” จะถูกห้ามใช้โดยเด็ดขาด!

“ยาเสพติด” ที่กล่าวถึงนี้ครอบคลุมถึง “เฮโรอีน กัญชา กระท่อม” จนปัจจุบันมี “ยาม้า” จนเปลี่ยนเป็น “ยาบ้า” และปัจจุบันยิ่งเลยเถิดเข้าสู่ “ยาไอซ์-ยาอี-สารพัดยาเคมีคัล” ที่มีการพัฒนาจนเยาวชนรุ่นใหม่เสพกันอย่างบ้าคลั่ง แม้กระทั่งเด็กวัย 12-13 ขวบที่หาเสพกันได้อย่างทั่วไป โดยเฉพาะ “ผู้ประกอบการ” ที่เห็นแก่ตัวขายให้กับ “ผู้ซื้อ” ซึ่งไม่เห็นแก่อายุหรืออะไรใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแค่ต้องการได้เงินเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึง “คุณธรรม-จริยธรรม”ใดๆ ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม ในสัคมยุคใหม่มีการค้นพบว่า “กัญชา” นั้นมีคุณประโยชน์ทางด้านการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ซึ่งเพิ่งจะมีการค้นพบได้ไม่นานน่าจะประมาณเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา จนหลากหลายประเทศได้นำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ยุคหนึ่งสังคมโลก สรุป "กัญชา" เป็นผู้ร้าย "ยาเสพติดให้โทษ" มาถึงยุคนี้ สรุปใหม่ "กัญชา" เป็นพระเอก หรือ "พืชเทวดา" โดยเฉพาะ “โรคมะเร็ง” บ้านเรา ขณะนี้กำลังเตรียมแก้กฎหมาย เปิดทางนำกัญชาเข้าวงจรวิจัยเป็นยาใช้รักษาควบคู่ทางการแพทย์ในผู้ป่วย 

มีการระดมสมองเรื่อง "กัญชาทางการแพทย์กับกฎหมาย:จากยาเสพติด สู่ ยารักษาโรค" ที่จุฬาฯ หนึ่งในผู้ร่วมสัมมนา นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ แสดงความมุ่งมั่นว่าปัจจุบัน ผู้ป่วยรอความหวังเยอะมากอย่าง “อัลไซเมอร์” ที่แสดงอาการประมาณ 2 แสนคน ยังมีผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มีผลข้างเคียง มีอาการปวดอย่างทรมาน การจะ “ปลดล็อก” กัญชา ต้องเน้นว่า “เพื่อผู้ป่วยเป็นหลัก” ดังนั้น ต้องมีราคาถูก ที่สำคัญต้องทำอย่างรวดเร็ว อย่างอังกฤษ ปลดล็อกใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น หากเราไม่เปิดให้ใช้ทางการแพทย์ ทุกวันนี้ มีการใช้ใต้ดินที่มีความเสี่ยงมาก ทั้งเรื่องการลักลอบใช้กัญชาที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง มีความเสี่ยงเยอะ จึงควรมีการควบคุม และนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้เสียที ประเด็นที่น่าห่วงมากกว่า คือ ขณะนี้ รัฐบาล แพทย์ สังคมทั่วไป "ทำความเข้าใจ" กับประชาชน ด้วยข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ว่าเจตนาที่พูดกันขณะนี้ ในเฉพาะประเด็นแก้กฎหมายเพื่อ "ยกระดับกัญชา" จากยาเสพติด ประเภท 5 "ต้องห้าม" เด็ดขาด ขึ้นเป็นยาเสพติด ประเภท 2 "นำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ ภายใต้การควบคุมแพทย์ เหมือนฝิ่น มอร์ฟีน ฯลฯ" ไม่ใช่แก้กฎหมาย ให้ประเทศไทย "ปลูก-เสพ" กัญชาได้เสรี มีขาย หาซื้อได้ตามร้าน เหมือนแคนาดาที่เป็นข่าว ขั้นแรก ต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้ตรงกันในประเด็นนี้ก่อน พูดง่ายๆ แก้กฎหมายให้เอากัญชาไปทำยา และใช้ภายใต้การควบคุมของหมอ เหมือนฝิ่น ที่ทุกวันนี้ เราก็ใช้ แต่ใช้ทางการแพทย์ คนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ปวดทรมานมากๆ หมอก็ฉีดมอร์ฟีนให้ลืมปวดทรมาน ไม่ใช่แก้กฎหมายแล้ว จะปลูก จะสูบกัญชาได้อิสรเสรี อย่างที่เข้าใจกัน


กัญชาที่รักษาโรคได้นั้น เขาจะเอาเกสรกัญชาตัวเมียมาสกัดเอาน้ำมันใช้หยอดใต้ลิ้น สารสกัดกัญชาจะซึมสู่ระบบประสาทได้เร็ว ใช้กับคนป่วยโรคสมอง ประเภทริดสีดวง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปากมดลูก ใช้เหน็บทางทวารหรือช่องคลอด เพราะสารสกัดกัญชา ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ถ้าเป็นโรคผิวหนังก็จะใช้ทา
    
ทางการวิจัย ค้นพบว่า ในกัญชา มันมีสาร 2 ชนิด ทำงานร่วมกัน คือ สาร THC มีผลทางประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้มในอาการเมา กินอะไรก็อร่อยไปหมด อีกตัวคือ สาร CBD ตัวนี้ ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดการอักเสบบวมโตของแผลหรือเนื้องอก ระงับเซลล์มะเร็งที่กำลังเติบโต ระงับการเกร็งหรือชักกระตุก และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันในระบบประสาท สหรัฐฯ วิจัยพบมาจะครึ่งศตวรรษแล้ว แต่เก็บเงียบไว้ จะด้วยกลัวเป็นดาบสองคม เมื่อประกาศออกไป เพื่อไม่ให้แย่งตลาดยาที่ตัวเองผลิตก็ไม่ทราบแต่วิจัยต่อเรื่อยๆ ภายใต้การควบคุมและเงื่อนไข จนสกัดออกมาเป็นยาใช้ใน
บางรัฐ บางประเทศ มาฮือฮามาก ก็ที่แคนาดา ซึ่งเปิดตัวไปวันก่อน ความจริงแคนาดาเขาปลูกเป็นไร่กัญชา เพื่อวิจัย-ค้นคว้าทางการแพทย์มาร่วม 20 ปีแล้ว

และก็ใกล้ถึงความจริงเข้ามาทุกทีกับการลงมติเห็นด้วยของ “คณะกรรมการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)” กรณีการใช้กัญชา ในวงการแพทย์ สมาชิกสนช.รวม 44 ราย นำเสนอร่าง “พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ” ต่อที่ประชุมสนช. เพื่อแก้ไขให้ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 คือ “กัญชาและพืชกระท่อม” สามารถนำไปศึกษาวิจัย เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และสามารถนำไปใช้ในการรักษาภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ หลังมีผลพิสูจน์จากทางการแพทย์ แล้วว่าสารสะกัดที่ได้จากกัญชา สามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้ผลทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด “ร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ” ฉบับนี้ยังอนุญาติให้ผู้ที่สามารถครอบครองกัญชาได้ ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง แพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรมไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการวิจัยทางการแพทย์ของทางราชการ เงื่อนไขคือ ต้องมีถิ่นที่อยู่ในไทย ไม่เคยต้องคำพิพากษา ถึงการกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตใจ สารระเหย สำหรับร่างกฎหมายยังกำหนดการอนุญาตให้ทดลองปลูก ผลิต เสพหรือครอบครอง โดยให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
       
ทั้งนี้ผลสรุปการรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์วุฒิสภา เมื่อวันที่ 1 – 15 ต.ค. ที่ผ่านมา มีผู้แสดงความคิดเห็นทั้งหมด 16,431 คน ผลปรากฏว่า เห็นด้วย 16,264 คน คิดเป็นร้อยละ 99 ไม่เห็นด้วยจำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 1 ในส่วนของเฟซบุ๊กเพจ สนช. ได้รับความสนใจจากชาวโซเชียล 290,646 ราย ในขั้นตอนต่อไปทาง สนช. จะมีการจัดให้ทำประชาพิจารณ์ ซึ่งจะมีตัวแทนหลายภาคส่วนเข้าร่วมในวันที่ 30 ต.ค. 2561 ที่จะถึงนี้ก่อนสรุปเป็นขั้นตอนต่อไปว่า จะพิจารณาเช่นไร แต่นี่ก็เป็นอีกครึ่งทางที่ทางการแพทย์ออกมายอมรับฤทธิ์ คุณประโยชน์ในการรักษาของกัญชา แทนที่จะมองในมุมลบเพียงอย่างเดียว เพราะพืชสมุนไพรทุกประเภทนั้นมีทั้งด้านดี ด้านร้ายในตัวเพียงแค่ว่าจะดึงส่วนดี มาใช้โดยลบล้างส่วนที่เสียได้มากเพียงใด หากสามารถนำกัญชามาเป็นส่วนประกอบยาที่ถูกกฎหมายได้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าบทหนึ่งของวงการแพทย์ไทยเลยทีเดียว

ตอนนี้มีประเทศที่ยอมรับฤทธิ์ของมันกว่า 30 ประเทศด้วยกันและยังทำให้ถูกกฎหมาย ได้แก่   

1.กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา 2.อุรุกวัย 3.ยูเครน 4.สวิตเซอร์แลนด์ 5.สเปน 6.รัสเซีย 7.โปรตุเกส 8.เปรู 9.ปากีสถาน 10.รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา 11.เกาหลีเหนือ 12.เนเธอร์แลนด์  13.เนปาล 14.เม็กซิโก 15.จาไมก้า 16.อิตาลี 17.เอสโตเนีย 18.เอกวาดอร์ 19.สาธารณรัฐเช็ค  20.โครเอเชีย 21.คอสตาริกา 22.โคลอมเบีย 23.รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา 24.แคนาดา 25.กัมพูชา 26.รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา 27.เบลเยี่ยม 28.ออสเตรเลีย 29.อาร์เจนตินา 30.อลาสก้า 

 



ที่มา : siamrath

 

 

ไม่พลาดทุกข่าวสารสำคัญ เพียงแค่กดเป็นเพื่อน LINE @CANNHEALTH

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้