ฮาร์วาร์ดพบว่าสารเคมีในกัญชาสามารถต่อต้านโรคมะเร็งตับอ่อนได้

Last updated: 12 ก.ย. 2562  | 

วันที่ 11 กันยายน 2562 -10:20 น.


"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : ณัฐวุฒิ จงจิตร/ Natthawut J.

 

ตามรายงานจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) ระบุว่ามะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีเพียง 9% และคาดว่าจะเป็นสาเหตุอันดับสองของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2020  (พ.ศ. 2563)

อย่างไรก็ตามการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดดำเนินการโดยคณะนักวิจัยที่สถาบันมะเร็ง Dana-Farber ของมหาวิทยาลัยและตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers of Oncology เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่า FBL-03G - “non-cannabinoid, non-psychoactive อนุพันธ์ของกัญชา”  มี “ศักยภาพการรักษาที่สำคัญ” ในการรักษาโรค

 

 

ยาเฉพาะ FBL-03G เป็นอนุพันธ์ของกัญชา "ฟลาโวนอยด์" ซึ่งเป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่พบ ในพืชผักและผลไม้ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ นักวิจัยชาวอังกฤษชื่อ Marilyn Barrett  เป็นคนค้นพบสารฟลาโวนอยด์จากกัญชาในปี 1986 และต่อมาพบว่ามีประโยชน์ในการต่อต้านการอักเสบ แต่การศึกษาครั้งนี้พบว่าอนุพันธ์ฟลาโวนอยด์ที่กำลังพิจารณากันอยู่นี้อาจสามารถรักษามะเร็งตับอ่อนทั้งในระดับจำกัดเฉพาะที่และระดับที่แพร่กระจาย

 

 

คณะนักวิจัยจากสถาบันมะเร็งดานา-ฟาร์เบอร์ (Dana-Faber Cancer Institute) แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ตัดสินใจศึกษาเรื่องของกัญชากับมะเร็งตับอ่อน พวกเขาได้สรุปว่าสารเคมีที่ได้จากพืชกัญชาจะมีประโยชน์ในการต่อต้านกับโรค เราคิดว่าการศึกษานั้นน่าสนใจพอที่จะรายงานเปิดเผยเพราะมะเร็งตับอ่อนนั้นขึ้นชื่อว่ายากที่จะรักษา การศึกษาถูกตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers of Oncology และอธิบายว่าสาร “ฟลาโวนอยด์” (flavonoids) เป็นสารประกอบที่ให้สีแก่พืชผักและผลไม้ และมีประโยชน์สำหรับการยับยั้งการแพร่กระจายและการเติบโตของเนื้องอกมะเร็งตับอ่อน
 
คณะนักวิจัยไม่แน่ใจอย่างแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดสารฟลาโวนอยด์จึงช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและพวกเขาเริ่มพัฒนาสมมติฐานเพื่อการวิจัยเพิ่มเติม

การใช้กัญชาในโรคมะเร็งที่พบมากที่สุด คือการบรรเทาอาการปวดและการจัดการกับผลข้างเคียง หากแต่ในการศึกษาครั้งนี้พิสูจน์แล้วว่ากัญชามีประโยชน์ในการรักษา  Dr. Wilfred Ngwa ผู้อำนวยการของ Global Health Catalyst (GHC) แห่ง Brigham and Woman’s Hospital และผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งดานา-ฟาร์เบอร์แห่งโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า “ช่างน่าประหลาดใจมาก” 

การศึกษาแสดงให้เห็นว่า FBL-03G มีความสามารถในการโจมตีเซลล์มะเร็งอื่นๆ และหยุดการเจริญเติบโตของพวกมัน  “เราค่อนข้างประหลาดใจที่ตัวยานี้สามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในส่วนอื่นๆ ของร่างกายซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายที่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยการรักษา”

“โดรนด้วยกล้องจุลทรรศน์” การจัดส่งยาไปยังตำแหน่งเนื้องอกมะเร็ง

คณะนักวิจัยยังได้พัฒนาเทคโนโลยีและนำมาใช้เพื่อควบคุมสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กับเนื้องอกมะเร็งที่เกิดขึ้นจริง พวกเขาเรียกระบบการจัดส่ง “โดรนด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic drones)”  ตามที่ Dr. Ngwa อธิบายว่าด้วยตัวยาที่มีปริมาณมากคุณจะได้รับเพียง 5% ของยาเพื่อส่งไปยังตำแหน่งเนื้องอกในร่างกายที่ต้องการจะเข้าถึงตัวยานั้น และด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถจัดส่งยาได้ 90%-100% ซึ่งอาจทำให้เกิดความเป็นไปได้สำหรับตัวยาที่จะเข้าสู่การทดลองทางคลินิกเชิงรักษา

 

 

เหตุใดจึงต้องศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับกัญชาและโรคมะเร็งตับอ่อน?

แพทย์ศึกษาเรื่องกัญชาในตอนแรกเพื่อว่าพวกเขาจะได้มีมุมความคิดเพื่อพัฒนาวิธีตอบคำถามผู้ป่วยเกี่ยวกับการใช้กัญชาสำหรับการจัดการความเจ็บปวดและผลข้างเคียง โดย Dr. Ngwa กล่าวว่า เหล่าผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยคำถามมากมายเกี่ยวกับกัญชาเช่น “เราควรใช้กัญชาเพื่อจัดการกับผลข้างเคียงหรือไม่” และแพทย์ก็ไม่สามารถบอกผู้ป่วยได้เสมอว่าต้องทำอะไรเพราะพวกเขาไม่มีใบสั่งยาสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ “เราไม่สามารถพูดได้ว่า ‘รับยาปริมาณเท่านี้’ เพราะการเพาะปลูกที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุจึงเป็นความสนใจเข้ามามีส่วนร่วมของเราที่จะแยกโมเลกุลที่ใช้งานจริงออกมาและดูว่าพวกมันจะมีประสิทธิภาพในโรคมะเร็งและความเจ็บปวดหรือไม่” เขากล่าว และในเวลานั้นพวกเขาไม่ได้มุ่งเน้นไปที่มะเร็งตับอ่อนเลย “ในตอนแรกเราไม่สนใจมะเร็งตับอ่อนเราพยายามมองหามะเร็งปอด”  Dr. Ngwa กล่าว

แต่ในเวลานั้นก็ยังทำการศึกษาเรื่องมะเร็งตับอ่อนแยกจากกันอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะเห็นสิ่งที่พวกเขาสามารถเรียนรู้ได้เกี่ยวกับกัญชาเพื่อรักษามะเร็งตับอ่อน  “เราเพิ่งทำการศึกษาอื่นเกี่ยวกับมะเร็ง ตับอ่อนและเมื่อเรามีการศึกษาอื่นต่อไปอีก เราได้พูดกันว่าให้แยกโมเลกุลเหล่านี้ออกและดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น”   

พวกเขารู้สึกตกตะลึงเป็นอย่างมากที่ว่าจริงๆ แล้วมันให้ผลลัพธ์ “ เราต้องทำการศึกษาซ้ำๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นจริง”  Dr. Ngwa กล่าว

 

 

ความแตกต่างระหว่างการศึกษานี้และการศึกษาที่ผ่านมา

ในอดีตที่ผ่านมา มีนักวิจัยจำนวนมากได้ตีพิมพ์งานในหัวข้อของสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และโรคมะเร็งตับอ่อน แต่ทว่ามีหลักฐานที่ขัดแย้งกันอยู่เสมอในการศึกษาที่แตกต่างกัน ในการศึกษาครั้งนี้คณะนักวิจัยพยายามที่จะแก้ไขปัญหานั้นโดยการคัดกรองพืชกัญชาก่อนแยกเอาสารฟลาโวนอยด์ออก “เรามีตั้งสมมติฐาน” Dr. Ngwa กล่าว “พืชกัญชาที่ปลูกในแคลิฟอร์เนียอาจแตกต่างจากพืชกัญชาที่ปลูก

ในแมสซาชูเซตส์” โดยการคัดกรองพืชกัญชาเหล่านี้ก่อน คณะนักวิจัยทำให้แน่ใจว่าพวกเขาทราบดีว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะไม่ได้รับอิทธิพลมาจากเกษตรกรผู้ปลูกกัญชาที่แตกต่างกันกับพันธุ์ที่แตกต่างกันของพืชกัญชา ขั้นตอนต่อไปสำหรับนักวิจัยของฮาร์วาร์ด คือการศึกษาต่อเนื่องทางคลินิกอย่างต่อเนื่องซึ่ง Ngwa หวังว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2020 (พ.ศ. 2563)  

 

ที่มา:  Survivornet, Independent, /Aug. 20, Yahoo Lifestyle/ Aug. 21,2019

1. https://www.survivornet.com/articles/new-harvard-research-finds-a-chemical-in-cannabis-can-help-fight-pancreatic-cancer/

2. https://www.independent.co.uk/life-style/cannabis-chemical-pancreatic-cancer-flavonoid-treatment-a9073606.html

3. https://www.yahoo.com/lifestyle/study-on-cannabis-chemical-as-a-treatment-for-pancreatic-cancer-may-have-major-impact-harvard-researcher-says-165116708.html

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้